Loading...

ข้อมูลพื้นฐาน 9 ประเภท

ข้อมูลพื้นฐาน



ประวัติ ความเป็นมา ของวิทยาลัยฯ

          วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี เป็นสถานศึกษาในอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี สังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษา วิชาชีพ ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเริ่มจากการจัดตั้งคณะทํางานศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง ซึ่งผล การศึกษาพบว่าการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคขึ้นที่อําเภอธัญบุรีนั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านของนักศึกษา ที่คาดว่าจะเข้าศึกษาต่อในพื้นที่บริการ และด้านศักยภาพในการขยายตัวทางด้านการค้า อุตสาหกรรม ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นจึงมีข้อเสนอโครงการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคขึ้น และนําสู่การพิจารณาของ กรมอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2538 โดยจัดหาพื้นที่ซึ่งเป็นที่ดินราชพัสดุ หมายเลขทะเบียน 45742 ซึ่งท่านผู้หญิง สุทธิอรรถนฤมนตร์ (ฉลวย เลขยานนท์) มอบให้กระทรวงการคลังเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในราชการ กระทรวงศึกษาธิการ เนื้อที่จํานวน 268 ไร่ 70 ตารางวา และเมื่อปีพ.ศ. 2522 กรมธนารักษ์ได้กําหนดให้ แบ่งที่ดินแปลงดังกล่าวให้กรมอาชีวศึกษา เป็นเนื้อที่จํานวน 100 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี เป็นระยะห่างประมาณ 45 กิโลเมตร

      พ.ศ. 2540 เปิดรับนักเรียนผู้สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) เข้าศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จํานวน 2 สาขาวิชาช่างไฟฟ้าและสาขาวิชาช่าง ก่อสร้าง

      พ.ศ. 2544 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา ช่างอิเล็กทรอนิกส์

      พ.ศ. 2545 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการ บัญชี

      พ.ศ. 2547 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา เลขานุการ (ระบบทวิภาคี) และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)จํานวน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาติดตั้งไฟฟ้า สาขาวิชาเทคนิคก่อสร้าง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

      พ.ศ. 2548 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา ธุรกิจค้าปลีก (ระบบทวิภาคี) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่มในสาขาวิชาการบัญชี

      พ.ศ. 2551 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่ม 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา ธุรกิจค้าปลีก (ระบบทวิภาคี) สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ (ระบบทวิภาคี) และสาขาวิชาเทคโนโลยีปาล์มน้ํามัน พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่มในสาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

      พ.ศ. 2558 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีเทคโนโลยี สายปฏิบัติการ (ทล.บ.) สาขางานการบัญชี

      พ.ศ. 2564 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา ช่างกลโรงงาน

 

ปรัชญา
     “วิชาดี ฝีมือเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม นําสังคม

         วิชาดี               มีความรู้ ความสามารถ ทางหลักวิชาการในสาขาวิชาชีพ และสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องสามารถผสมผสานองค์ความรู้ทั้งปวง เพื่อนําไปสู่การดํารงชีวิต และ การประกอบอาชีพ

         ฝีมือเยี่ยม         มีความสามารถในการปฏิบัติงาน และสร้างสรรค์พัฒนางานอย่างมี ประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน

         เปี่ยมคุณธรรม   มีระเบียบวินัย มีความสํานึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ต่อ ตนเอง และผู้อื่น และมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

         นําสังคม           เป็นผู้นํา และเป็นแบบอย่างในการนําความรู้ และเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ และพัฒนาวิชาชีพของตนและสังคม

 

วิสัยทัศน์

       มีความรู้ ความสามารถ ทางหลักวิชาการในสาขาวิชาชีพ และสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องสามารถผสมผสานองค์ความรู้ทั้งปวง เพื่อนําไปสู่การดํารงชีวิต และ การประกอบอาชีพ  มีความสามารถในการปฏิบัติงาน และสร้างสรรค์พัฒนางานอย่างมี ประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน  มีระเบียบวินัย มีความสํานึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ต่อ ตนเอง และผู้อื่น และมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
เป็นผู้นํา และเป็นแบบอย่างในการนําความรู้ และเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ และพัฒนาวิชาชีพของตนและสังคม 
น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มี คุณภาพได้มาตรฐาน

 

พันธกิจ

      1. การยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนด้านวิชาชีพให้สอดคล้องกับ ความต้องการของสถานประกอบการ

      2. สร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับระหว่าง สถานประกอบการที่ยั่งยืน

      3. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา

      4. พัฒนางานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

      5. พัฒนาครูและบุคลากรสถานศึกษาให้มีคุณภาพ

 

อัตลักษณ์

      “มีจิตอาสาพัฒนาฝีมือ”

 

เอกลักษณ์

      “การบริการชุมชนด้านวิชาชีพ”

 

จุดเน้นในการพัฒนาของสถานศึกษา แผนพัฒนาผู้เรียน

  1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ

    สถานศึกษา

  2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการหารายได้ระหว่างเรียนในสถานประกอบการาและสามารถนําความรู้ไป

    ประกอบอาชีพได้

  3. จัดกิจกรรมให้นักเรียนมีทักษะการจัดการการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ใน

    กระบวนการเรียนรู้

  4. จัดให้นักเรียนได้เรียนรู้ในการเขียนแผนธุรกิจเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและพัฒนา

    อาชีพ

  5. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะการจัดการการวางแผนในการจัดทําโครงงาน

    นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย โดยจัดให้แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

  6. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนสื่อสารได้คิดได้และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง

 

แผนพัฒนาบุคลากร

  1. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง

  2. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษามาพัฒนางาน

  3. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดทําผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานวิจัย

  4. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดทําแผนบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนและคํานึงถึง

    ผลสัมฤทธิ์ของงาน

 

แผนพัฒนาด้านบริหารจัดการ

  1. จัดสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

  2. จัดทําแผนพัฒนาทุกแผนกวิชาเพื่อพัฒนาสู่มาตรฐานการจัดการศึกษาในแต่ละสาขาวิชา

  3. ขยายความร่วมมือกับสถานประกอบการให้หลากหลายวิชาชีพ

  4. จัดหาวัสดุฝึก อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ให้เพียงพอ

  5. นําผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้กับครู บุคลากร และผู้เรียน

  6. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

แผนพัฒนาการจัดหาทรัพยากร

      สถานศึกษาควรมีการจัดหาทรัพยากรร่วมกับชุมชนและสถานประกอบการ

 

ความโดดเด่นของสถานศึกษา (ผลงาน/รางวัล/เกียรติยศ/ชื่อเสียง)

      1. วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี ได้รับการประเมินการดําเนินงานโครงการศูนย์บ่มเพาะ ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ระดับจังหวัดปทุมธานี ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อยู่ในระดับ 3 ดาว

      2. นักเรียน นักศึกษา แผนกวิชาธุรกิจค้าปลีก ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 การแข่งขัน ทักษะทางวิชาชีพ ประเภททักษะOneProductOneBusiness(หนึ่งผลิตภัณฑ์สู่หนึ่งธุรกิจ) หลักสูตรพาณิชยกรรม และบริหารธุรกิจสาขาธุรกิจค้าปลีกและการจัดการธุรกิจค้าปลีกภายใต้โครงการมหกรรมวิชาชีพธุรกิจคป้ลีก ครั้งที่ ประจําปีการศึกษา 2564

      3. นักเรียน นักศึกษา แผนกวิชาการบัญชี ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดสุนทรพจน์ หัวข้อ ออมกับ กอช. เพื่อความมั่นคงในอนาคต

 

กลยุทธ์

    กลยุทธ์และมาตรการของสถานศึกษา

      1. เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตนักเรียน/นักศึกษาของสถานศึกษา
      2. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนและประสิทธิผลให้ได้ประโยชน์สูงสุด
      3. พัฒนากิจกรรมผู้เรียนให้เป็นระบบแบบยั่งยืน
      4. ส่งเสริมการบริการวิชาชีพสู่สังคม
      5. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาทางวิชาการ
      6. สร้างระบบงานประกันคุณภาพ
      7. เสริมสร้างความรู้ด้านวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี
      8. เพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการด้วยระบบสารสนเทศ
      9. สร้างชื่อเสียงสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับในชุมชนภูมิภาคและประเทศในระดับอาเซียน

 

มาตรการ

      1. เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตนักเรียน/นักศึกษาของสถานศึกษา
      2. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนและประสิทธิผลให้ได้ประโยชน์สูงสุด
      3. พัฒนากิจกรรมผู้เรียนให้เป็นระบบแบบยั่งยืน
      4. ส่งเสริมการบริการวิชาชีพสู่สังคม
      5. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาทางวิชาการ
      6. สร้างระบบงานประกันคุณภาพ
      7. เสริมสร้างความรู้ด้านวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี
      8. เพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการด้วยระบบสารสนเทศ
      9. สร้างชื่อเสียงสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับในชุมชนภูมิภาคและประเทศในระดับอาเซียน